Translate

ภูมิปัญญาแต่ละภาค

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคเหนือที่สำคัญ มีดังนี้
1.1 งานหัตถกรรม ได้แก่ งานแกะสลักไม้และภาชนะเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่
ผ้าไหมยกดอก จังหวัดลำพูน และผ้าตีนจกบ้านนามน จังหวัดแพร่ เป็นต้น
1.2 ภาษิตสอนใจ ที่เรียกว่า ล้านนาภาษิตสอนให้ผู้คนเคารพกฎระเบียบ
ของสังคม เช่น ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักการแบ่งปัน ระมัดระวังคำพูดไม่ใช้คำพูดล่วงเกินผู้อื่น และเน้นการ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนในสังคม เป็นต้น
1.3 พืชผักพื้นบ้าน คนท้องถิ่นภาคเหนือรู้จักคุณค่าของพืชผักพื้นบ้านชนิดต่างๆ
ที่เก็บหาได้ตามชายป่า มีคุณประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ใช้เป็นอาหาร ยาสมุนไพร และทำสีย้อมผ้าฝ้าย
พืชบางชนิดช่วยยึดตลิ่งริมน้ำไม่ให้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังทลาย และลวดลายของใบพืชผักบางชนิด
มีความสวยงามถึงกับนำมาทำลวดลายบนผ้าตีนจก หรือลายปูนปั้นหน้าโบสถ์ เป็นต้น
1.4 การแพทย์พื้นบ้าน การรักษาคนไข้ของหมอพื้นบ้านล้านนา จะรักษาคนไข้
ทั้งร่างกายและจิตใจ และรวมไปถึงญาติพี่น้องในครอบครัวด้วย เมื่อคนไข้เกิดความพึงพอใจต่อวิธี

รักษาพยาบาลจะส่งผลดีทางด้านจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างรวดเร็ว






ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ที่ประกอบด้วยคนไทยและอีกหลายชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในคาบสมุทรมีคนมาเลย์ คนจีน และคนที่มาจากอินเดียฝ่ายใต้ แต่กลุ่มชนที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ไทยสยาม โดยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแหลมทอง มีทะเลกว้างใหญ่ขนาบอยู่ทั้งสองข้าง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในทะเล และบนแผ่นดิน อันล้วนเป็นเขตมรสุมใกล้เส้นศูนย์สูตร มีผู้คนหลายชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรมเดินทางมาทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อมาตั้งหลักแหล่ง แสวงหาโภคทรัพย์และทำมาค้าขายเป็นเวลาติดต่อกันยาวนานกว่าพันปี มีการตั้งถิ่นฐานทำมาหากินกันหลายลักษณะ ทั้งบริเวณชายทะเล ที่ราบระหว่างชายทะเลกับเทือกเขา หลังเขา และตามสายน้ำน้อยใหญ่จำนวนมากที่ไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน ภูมิปัญญาของภาคใต้จึงมีความหลากหลาย ทั้งที่ได้พัฒนาการจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หรือคนต่างถิ่นที่พกพามาจากแหล่งอารยธรรมต่างๆ จนหลอมรวมกัน เกิดเป็นภูมิปัญญาประจำถิ่น ซึ่งมีอยู่ในหลายลักษณะ คือ
ภูมิปัญญาในด้านการดำรงชีพ
ภูมิปัญญาในด้านความสัมพันธ์และการพึ่งพา
ภูมิปัญญาในด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน
ภูมิปัญญาในด้านสมุนไพร 
ภูมิปัญญาในด้านทัศนะคติ
ภูมิปัญญาในด้านการปลูกฝังคุณธรรม
ภูมิปัญญาในด้านการดำรงชีพ
การแสวงหาปัจจัยพื้นฐานของการยังชีพถือเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของชนทุกชาติทุกภาษา ซึ่งวิธีการจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สำหรับชนชาวใต้ที่มีทำเลตั้งถิ่นฐานค่อนข้างหลากหลายคือ มีทั้งที่ราบตามแนวชายฝั่ง ปากอ่าว ท่าเรือ ที่ราบเชิงเขา หลังเขา ตามแนวสายน้ำน้อยใหญ่ บนเกาะ ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดิน ทำให้ชาวใต้ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ความสามารถ อย่างมากมายในการจัดการและปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งมีอยู่หลายประการ คือ
1. การขุดสระน้ำ เพื่อให้ได้น้ำจืดใสสะอาดไว้กินไว้ใช้ตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล ยามที่น้ำขึ้น น้ำเค็มจะไหลเอ่อเข้ามาในแผ่นดิน จะอาศัยอาบกินก็ไม่สะดวก ดังนั้นจึงเกิดภูมิปัญญาในการหาทำเลขุดบ่อน้ำ ซึ่งบริเวณที่เหมาะสมควรจะเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
-บริเวณที่มีหญ้าขึ้นในฤดูแล้ง
-บริเวณที่มีต้นกะพ้อ มะเดื่อ หรือมีจอมปลวก เป็นบริเวณที่มีความชื้นอยู่มาก น้ำใต้ดินอยู่ในระดับตื้น
-ทดสอบโดยใช้กะลามะพร้าวผาซีก ไปคว่ำไว้ตามจุดที่สงสัยว่าจะมีตาน้ำ เมื่อหงายดู ถ้าพบว่ามีหยดน้ำจับอยู่มากก็เชื่อได้เลยว่าตาน้ำอยู่ไม่ลึก
2. การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ชาวใต้มีความเชื่อทำนองเดียวกันกับภาคอื่นว่าการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านต้องเลือกปลูกเฉพาะไม้ที่เป็นมงคลและปลูกให้ถูกทิศทาง โดยมีประโยชน์แฝงไว้เพื่อให้เกิดความร่มเย็นทั้งกายใจ ส่วนที่ห้ามปลูกในบริเวณบ้าน เป็นพวกไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขามาก หรือชื่อไม่เป็นมงคล เช่น เต่าร้าง ลั่นทม ความเชื่อนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์ ทิศทางของลมมรสุม ความหนักเบาของฝน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน รวมถึงความเข้าใจธรรมชาติของต้นไม้ในแต่ละพันธุ์ด้วย
3. การปลูกสร้างบ้านเรือน จะมีลักษณะแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ
-ชาวใต้นิยมแผ้วถางพื้นที่บริเวณบ้านให้เตียนเรียบจนเห็นเป็นพื้นทรายขาวสะอาด มีเหตุผลด้านสภาพแวดล้อมคือ การเดินเข้าออกสะดวก ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ที่มีอยู่อย่างชุกชุม
-บ้านเรือนมีหลังคาเตี้ยลาดชัน ยกพื้นสูง และไม่ฝังเสาลงดิน แต่จะวางอยู่บนตีนเสาที่เป็นก้อนหิน ไม้เนื้อแข็ง หรือ แท่งซีเมนต์หล่อ เนื่องจากฝนตกชุก ทำให้ดินอ่อนตัว โอกาสที่เสาจะทรุดตัวมีได้มาก นอกจากนี้แล้วยังเป็นการป้องกันปลวกและเชื้อรากัดกิน 
-ไม่ปลูกบ้านขวางตะวัน นิยมปลูกหันหน้าไปในแนวเหนือใต้ เพื่อหลบแสงแดดที่จะส่องเข้าบ้าน 
4. อุบายในการครองชีพ สังคมของชาวใต้มีเคล็ดหรืออุบายในการดำรงชีพและการทำมาหากินตามสภาพแวดล้อมหลายประการคือ
-เครื่องหมายแสดงเจตจำนง แต่เดิมชาวใต้ไม่รู้หนังสือหรือแม้จะรู้บ้าง แต่การสื่อความหมายโดยใช้เครื่องหมายบอกเจตจำนงก็ยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ยอมรับเป็นกติกาแห่งสังคมที่อยู่กินกันแบบพึ่งพาอาศัย ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องหมาย ห้าม ขอ ขัดใจ
ห้าม หรือภาษาถิ่นที่เรียกว่า ปักกำ กาหยัง หรือ กาแย เป็นเครื่องหมายที่จะนำไปปักไว้ในที่หวงห้าม เช่น ห้ามจับปลาในหนองน้ำ ห้ามนำวัวควายเข้ามากินหญ้า
ขอ เป็นเครื่องหมายที่จะนำไปปักไว้ในที่ที่ต้องการจะขอจากเจ้าของ แต่ไม่มีโอกาสร้องขอด้วยวาจา เช่น ขอเข้าไปแผ้วถางป่าเพื่อปลูกพืชผล
ขัดใจ เป็นเครื่องหมายที่ใช้คู่กับเครื่องหมาย ห้าม เพื่อเพิ่มน้ำหนัก ถ้ามีการละเมิดก็จะต้องมีการขัดใจกัน
-ชาวไทยพุทธในภาคใต้ไม่นิยมกินเนื้อกระบือ เนื่องจากเป็นสัตว์มีคุณที่ได้อาศัยทำมาหากิน จึงไม่ควรฆ่ากิน
-ชาวใต้จะเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แกะ เพื่อเก็บเอาเฉพาะรวงเท่านั้น เพราะข้าวที่เก็บเกี่ยวเป็นพันธุ์ต้นสูง สำหรับหนีน้ำ บางครั้งต้องพายเรือเกี่ยวข้าว 
-ชาวใต้นิยมกินผักสด หรือที่เรียกว่า ผักเหนาะ เนื่องจากภาคใต้อุดมไปด้วยพืชผักพื้นบ้านนานาชนิด ที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ มีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูง อีกทั้งยังเป็นสมุนไพร ช่วยบำรุงร่างกาย รวมทั้งช่วยตัดทอนความเผ็ดร้อนของอาหาร เมื่อประกอบกับอาหารประเภทอื่นที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ทั้งหอย ปู กุ้ง ปลา ทำให้คนใต้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้
2.1 ผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะผ้าไหม มีชื่อเสียงในด้านลวดลายสวยงามและมีคุณภาพ
เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดขอนแก่น ผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมอนขวานผ้าขิด จังหวัด
ยโสธร เป็นต้น
2.2 ลำกลอน ผู้ที่ร้องลำกลอน เรียกว่า หมอลำเป็นผู้นำทางความคิดของผู้คน
ในท้องถิ่นโดยจะร้องลำกลอนที่มีเนื้อหาสะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคม เช่น การกดขี่
ของเจ้าหน้าที่ ความยากจนของราษฎร ฯลฯ หรือสังคมที่ดีงามในอุดมคติ เช่น ความเจริญของท้องถิ่น
และความอยู่ดีกินดีของราษฎร เป็นต้น
2.3 บทเพลงเจรียงเบริญ เป็นการละเล่นที่ดัดแปลงมาจากการขับร้องแบบดั้งเดิมของ
ชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ มีลักษณะเป็นเพลงร้องโต้ตอบ เน้นความไพเราะของภาษา
ทำนอง และน้ำเสียงที่ใช้ขับร้อง นิยมนำมาแสดงในงานประเพณีและงานศพ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร
โดยเฉพาะที่จังหวัดสุรินทร์
บทเพลงเจรียงเบริญ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอีสานใต้เชื้อสายเขมรหลายประการ เช่น เน้น
ความสามัคคีในชุมชน การสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษและหน้าที่ของบุตรที่พึงปฏิบัติต่อ
บิดามารดา ตลอดจนการผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ พราหมณ์ และภูติวิญญาณ เป็นต้น





ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคกลาง

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคกลาง มีดังนี้
3.1 การละเล่นพื้นบ้าน เป็นการละเล่นของเด็กๆ จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
( 1 ) การละเล่นที่เน้นในคุณธรรม ความอดทน ความสามัคคีในหมู่คณะ 
ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ เช่น ตี่จับ ขี่ม้าส่งเมือง ชักเย่อ ซ่อนหา หมากเก็บ ฯลฯ
( 2 ) การละเล่นที่ฝึกการสังเกตและมีไหวพริบ เช่น กาฟักไข่ แข่งเรือคน 
เทวดานั่งเมือง ฯลฯ
( 3 ) การละเล่นที่ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การเล่นเตย แม่งู 
โพงพาง ฯลฯ
3.2 ประเพณีการรำพาข้าวสาร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นการละเล่นบทร้องที่
ใช้คำและภาษาง่ายๆ มีความไพเราะในเสียงสัมผัสของสระและอักษร สะท้อนถึงภูมิปัญญาของคนท้อง
ถิ่นในด้านต่างๆ ได้แก่
( 1 ) ความเชื่อในเรื่องกุศลผลบุญตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การ
ทำบุญ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดกับบ้าน
( 2 ) ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจระหว่างผู้คนในท้องถิ่น สภาพชีวิตของ
ผู้คนในสังคมชนบทและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น
3.3 ขนมไทย ภูมิปัญญาของคนไทยภาคกลางในการทำขนมมีมากมายหลายชนิด เช่น 
ขนมที่ใช้ในงานมงคล หรือประเพณีทางศาสนา เช่น ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด และ
เม็ดขนุน ฯลฯวิถี



(ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และขออภัยในการอ้างอิงเนื่องจากใช้ประกอบในการศึกษาไม่ได้มีเจตนาละเมิดสิทธิแต่อย่างใด)


12 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากครับ
    ขอให้พยายามต่อไป

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. มีภาคเหนือไหมคะ?

    ตอบลบ